วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

ในที่บางแห่ง ท่านเติมคำว่า อธิปไตย เข้าข้างท้ายคำเหล่านี้ เป็น ฉันทาธิปไตย 
วิริยาธิปไตย วิมังสาธิปไตย
 ไปดังนี้ก็มี แปลว่า ความมีฉันทะเป็นใหญ่ เป็นต้น 
ซึ่งที่แท้ ก็ได้แก่ อิทธิบาท อย่างเดียวกัน นั่นเอง แต่ใช้คำว่า ที่มีความหมาย ที่
เห็นได้ชัด ยิ่งขึ้นว่า ในการทำกิจใดๆ ก็ดี ย่อมมีฉันทะ เป็นต้น เหล่านี้เป็นใหญ่
 
หรือเป็นประธานในความสำเร็จ เป็นการชวนให้สนใจในสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท
 
นี้ยิ่งขึ้น มีพระพุทธภาษิต ยืนยัน อยู่ในที่ หลายแห่ง ว่า การตรัสรู้ อนุตรสัมมา
 
สัมโพธิญาณ ของพระองค์เอง สำเร็จได้โดยมี อิทธิบาท๔ นี้ เป็นประธาน แห่ง
การกระทำ ในลำดับนั้นๆ ฉะนั้น จึงถือว่าเป็น อุปกรณ์อันขาดเสียไม่ได้ในความ
สำเร็จทุกชนิด ผู้ปฏิบัติ เพื่อความ ความดับทุกข์ จึงต้องสนใจเป็นพิเศษ แม้การ
ประกอบ ประโยชน์ ในทางโลก ก็ใช้หลักเกณฑ์ อันเดียวกันนี้ได้เป็นอย่างดี โดย
เท่าเทียมกัน แม้ที่สุด แต่ในกรณีที่เป็น การทำชั่ว ทำบาป ก็ยังอาจนำไปใช้ ให้
บรรลุผลได้ตามที่ตนประสงค์ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็น หลักธรรม ที่สำคัญหมวด
หนึ่ง ในบรรดา โพธิปักขิยธรรม ทั้งหลาย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น